พิชัยสงครามซุนวูกับการเล่นหุ้น ดูเหมือนจะนำไปใช้ได้ในการเล่นทั้งเก็งกำไรและถือลงทุน เพราะถ้าเราเข้าใจกลยุทธ วิธีคิด และคำนวณการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ ก็เปรียบเทียบเหมือนการทำศึก ออกรบ หากวางแผนการรบดี โอกาสได้ชัยชนะมีมากกว่า 80 เปอร์เซ็น ตัวอย่างของกลยุทธซุนวู ได้แก่
จุดแรก สอนว่า “เราต้องรักษาสถานะที่จะไม่แพ้ไว้ก่อน”
จุดสอง “หาจังหวะโอกาสที่จะทำให้ข้าศึกแพ้ และไม่พลาดที่จะใช้จังหวะโอกาสนั้น”
หมายความว่า เวลาเราเล่นหุ้น ต้องเลือกหุ้นที่มีโอกาสจะขึ้นมากที่สุด ก็หมายถึงโอกาสที่เราจะแพ้ แล้วขาดทุนมีน้อยนิด ก็คือ คงสถานะว่าจะไม่แพ้ไว้ก่อน ส่วนความหมายที่สอง ก็คือ เราเห็นแล้วว่า หุ้นตัวไหนซื้อแล้วได้กำไรชัวร์ชัวร์ ก็ต้องลุยซื้อเพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาสนั้นนั่นเอง
สังเกตุได้ไหมว่า ฝ่ายใดจะชนะ ฝ่ายใดจะแพ้
ฝ่ายชนะ จะรู้ว่า จะรบชนะก่อน จึงออกรบ
ฝ่ายแพ้ ออกรบก่อน แล้วจึงหวังชนะ
หมายความว่า ถ้าเรามองไม่เห็นแววว่าหุ้นที่เราจะซื้อ มีโอกาสขึ้น แต่ซื้อเพราะอยากซื้อไปก่อน หรือชอบใจจึงซื้อ เช่นนี้ ก็อาจจะแพ้ ตั้งแต่เริ่มเล่นเลย เพราะยังหวังว่าจะขึ้นโดยที่ยังไม่รู้เหนือรู้ใต้ อะไรเลย กลับกัน เราเห็นแววว่าตัวนี้ ท่าทางจะได้ตัง ณ ราคานี้ จึงซื้อ นั่นแหล่ะ จึงเรียกว่า รู้ว่าน่าจะได้ตัง จึงซื้อเพื่อเอาตัง
รูปแบบการรบ ผู้สันทัดการรบ “จักทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ก่อน เพื่อรอโอกาสข้าศึกจะถูกพิชิต” “มิอาจพิชิตเป็นฝ่ายตน ถูกพิชิตเป็นฝ่ายข้าศึก” “หากทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ แต่ไม่อาจทำให้ข้าศึกจะต้องถูกพิชิต ดังนี้ ชัยชนะอาจล่วงรู้ แต่ไม่อาจกำหนดได้” ฟังแล้ว งง มั๊ยเนี่ย แต่นี่แหล่ะเป็นเคล็ดลับชั้นดีทีเดียว
นอกจากนี้ ยังมีกลศึก อีก เช่น ผู้ที่เราไม่อาจเอาชนะ พึงตั้งรับ ผู้ที่เราอาจเอาชนะ พึงเข้าตี ตั้งรับเพราะกำลังไม่พอ เข้าตีเพราะกำลังเหลือเฟือ คำกล่าวเหล่านี้ น่าจะชัดเจนในตัวมันเอง
หลักการทำศึก มีดังนี้ หนึ่งคือวินิจฉัย สองคือคำนวณ สามคือปริมาณ สี่คือเปรียบเทียบ ห้าคือชัยชนะ หลักการนี้อาจดูสลับซับซ้อนและยุ่งเหยิงไปหน่อย เอาเป็นว่า ฟังไว้เป็นแนวคิดไว้ก่อน ค่อยอธิบายในคราวต่อไป เพราะดูเหมือนจะลึกซึ้งไปหน่อย เป็นที่เข้าใจได้ยาก แต่ถ้ารู้หลักแล้ว โอกาสชนะในเกมหุ้น แล้วได้กำไรอย่างงามก็ไม่ไปไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น