วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กลยุทธซุนวูกับหุ้น

พิชัยสงครามซุนวูกับการเล่นหุ้น ดูเหมือนจะนำไปใช้ได้ในการเล่นทั้งเก็งกำไรและถือลงทุน เพราะถ้าเราเข้าใจกลยุทธ วิธีคิด และคำนวณการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้   ก็เปรียบเทียบเหมือนการทำศึก ออกรบ   หากวางแผนการรบดี โอกาสได้ชัยชนะมีมากกว่า 80 เปอร์เซ็น   ตัวอย่างของกลยุทธซุนวู  ได้แก่

จุดแรก สอนว่า เราต้องรักษาสถานะที่จะไม่แพ้ไว้ก่อน
จุดสอง  หาจังหวะโอกาสที่จะทำให้ข้าศึกแพ้  และไม่พลาดที่จะใช้จังหวะโอกาสนั้น
หมายความว่า  เวลาเราเล่นหุ้น ต้องเลือกหุ้นที่มีโอกาสจะขึ้นมากที่สุด  ก็หมายถึงโอกาสที่เราจะแพ้ แล้วขาดทุนมีน้อยนิด  ก็คือ คงสถานะว่าจะไม่แพ้ไว้ก่อน   ส่วนความหมายที่สอง ก็คือ เราเห็นแล้วว่า หุ้นตัวไหนซื้อแล้วได้กำไรชัวร์ชัวร์  ก็ต้องลุยซื้อเพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาสนั้นนั่นเอง

สังเกตุได้ไหมว่า  ฝ่ายใดจะชนะ ฝ่ายใดจะแพ้
ฝ่ายชนะ  จะรู้ว่า จะรบชนะก่อน จึงออกรบ
ฝ่ายแพ้   ออกรบก่อน แล้วจึงหวังชนะ
หมายความว่า ถ้าเรามองไม่เห็นแววว่าหุ้นที่เราจะซื้อ มีโอกาสขึ้น แต่ซื้อเพราะอยากซื้อไปก่อน หรือชอบใจจึงซื้อ เช่นนี้ ก็อาจจะแพ้ ตั้งแต่เริ่มเล่นเลย เพราะยังหวังว่าจะขึ้นโดยที่ยังไม่รู้เหนือรู้ใต้ อะไรเลย  กลับกัน เราเห็นแววว่าตัวนี้ ท่าทางจะได้ตัง ณ ราคานี้ จึงซื้อ นั่นแหล่ะ จึงเรียกว่า รู้ว่าน่าจะได้ตัง  จึงซื้อเพื่อเอาตัง

รูปแบบการรบ  ผู้สันทัดการรบ  จักทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ก่อน เพื่อรอโอกาสข้าศึกจะถูกพิชิต  มิอาจพิชิตเป็นฝ่ายตน  ถูกพิชิตเป็นฝ่ายข้าศึก   หากทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ แต่ไม่อาจทำให้ข้าศึกจะต้องถูกพิชิต ดังนี้ ชัยชนะอาจล่วงรู้  แต่ไม่อาจกำหนดได้   ฟังแล้ว งง มั๊ยเนี่ย แต่นี่แหล่ะเป็นเคล็ดลับชั้นดีทีเดียว

นอกจากนี้ ยังมีกลศึก อีก เช่น  ผู้ที่เราไม่อาจเอาชนะ  พึงตั้งรับ    ผู้ที่เราอาจเอาชนะ  พึงเข้าตี   ตั้งรับเพราะกำลังไม่พอ  เข้าตีเพราะกำลังเหลือเฟือ   คำกล่าวเหล่านี้ น่าจะชัดเจนในตัวมันเอง

หลักการทำศึก  มีดังนี้  หนึ่งคือวินิจฉัย  สองคือคำนวณ  สามคือปริมาณ  สี่คือเปรียบเทียบ  ห้าคือชัยชนะ    หลักการนี้อาจดูสลับซับซ้อนและยุ่งเหยิงไปหน่อย  เอาเป็นว่า ฟังไว้เป็นแนวคิดไว้ก่อน ค่อยอธิบายในคราวต่อไป เพราะดูเหมือนจะลึกซึ้งไปหน่อย  เป็นที่เข้าใจได้ยาก  แต่ถ้ารู้หลักแล้ว  โอกาสชนะในเกมหุ้น แล้วได้กำไรอย่างงามก็ไม่ไปไหน

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเล่นหุ้นขาลงด้วย Derivative Warrant (Put Option)

นักลงทุนอาจสงสัยว่า หุ้นลง สามารถทำกำไรได้ด้วยหรือ  คำตอบคือ ถูกต้อง เราสามารถหากำไรจากช่วงหุ้นขาลงได้  ยิ่งลงมาก ยิ่งได้กำไรมาก  ฟังแล้ว งง งง  เป็นไปได้อย่างไร ?  อุปมาดั่ง เราขายได้ราคาสูงก่อนที่จะซื้อคืนในราคาต่ำกว่าที่ขาย  ที่สำคัญต้องเน้นขายก่อน แล้วจึงซื้อคืน  ซึ่งขัดกับหลักการซื้อขายหุ้นโดยทั่วไป  ที่นักลงทุนมักจะซื้อก่อน แล้วจึงหาโอกาสขาย   วิธีเล่นกลับกันเช่นนี้ 
นักลงทุนไทยอาจไม่คุ้นเคย ไม่ชำนาญ และสับสนได้ และยังมองไม่ออกว่า จะได้กำไรอย่างไร  คำตอบคือ  เหมือนยืมตังมาก่อน
เวลาคืนจ่ายคืนน้อยกว่าที่ยืม  เท่านี้ก็เหมือนได้กำไรแล้วนั่นเอง

หุ้นที่เป็น Derivative Warrant ประเภท Put Option  เท่าที่ปรากฎอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มีอยู่ด้วยกัน 7  ตัว ได้แก่

ชื่อหุ้น
ราคาแปลง
อัตราส่วน
วันหมดอายุ
โอกาส
CPF18PA
22
5 : 1
29 มีค 54
ราคามีค่า น่าสนใจ
IVL01PB
70
10 : 1
29 เมย 54
ราคามีค่า น่าสนใจ
KTB01PA
13
1 : 1
28 กพ 54
ราคาเป็นศูนย์
PTT06PA
300
50 : 1
15 มิย 54
ราคาเป็นศูนย์
PTT18PA
288
50 : 1
28 มีค 54
ราคาเป็นศูนย์
PTTE01PA
200
40 : 1
31 พค 54
ราคามีค่า น่าสนใจ
TOP18PA
62
15 : 1
25 มีค 54
ราคาเป็นศูนย์


จะเห็นได้ว่า  มีอยู่ 3 ตัว ที่มีมูลค่า ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน  ซึ่งถ้าหาก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ยังคงลดต่ำลงอยู่  หุ้นประเภทนี้ นับว่าสามารถป้องกันผลขาดทุนจากหุ้นสามัญได้  ทั้งนี้ นักลงทุน ควรเลือกและคำนวณจากราคา และอัตราส่วนด้วยว่า  หุ้นตัวไหนน่าซื้อไว้ป้องกันผลขาดทุนจากบัญชีการลงทุน  เพราะเราอาจได้เงินกำไรบางส่วนเมื่อตลาดรวมปรับตัวลดลง   ลองไปพิจารณาดูว่า  ตัวไหนที่เราสนใจและเหมาะกับแนวทางของเรา